HEALTH ARTICLE

“การแจ้งตาย” เรื่องง่าย ไม่ยุ่งยาก

“การแจ้งตาย” เรื่องง่าย ไม่ยุ่งยาก ผู้เขียน รัตนศิริ ศิระพานิชกุล การ “ตาย” เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกครอบครัว และเวลาที่มีคนในครอบครัวตาย ญาติมักจะทำตัวไม่ถูก ไม่รู้ว่าจะต้องจัดการอย่างไร เนื่องจากกำลังอยู่ในอารมณ์เศร้า วันนี้เราเลยมีเรื่องราวความรู้และเรื่องเล่าประสบการณ์ “การแจ้งตาย” ที่ไม่ยุ่งยากมาเล่าสู่กันฟังค่ะ ก่อนอื่นเราต้องมาปูพื้นฐานความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ กันก่อนว่า การตายมีกี่กรณี ผู้แจ้งตายต้องทำอย่างไร และต้องเตรียมหลักฐานเอกสารอะไรบ้าง ? … การแจ้งตาย มี 2 กรณีใหญ่ ๆ จำง่าย ๆ คือ กรณีตายในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลต่างๆ กรณีนี้ หลังจากที่ผู้ป่วยตาย แพทย์จะออก หนังสือรับรองการตาย (ใบ ท.ร.4/1) ให้แก่ญาติ เพื่อให้ญาตินำไปรวมกับเอกสารอื่น ๆ ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งตาย บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ตาย (ถ้ามี) และสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อคนตาย (ถ้ามี) สำหรับนำไปยื่นให้กับนายทะเบียน ณ ที่ทำการปกครองอำเภอหรือท้องถิ่น ภายใน […]

‘โรคหลอดเลือดสมอง’ เวลาชีวิตที่หล่นหายของผู้สูงอายุไทย

เรื่องโดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล การเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเสียชีวิต หากมองว่าเป็นเรื่องส่วนบุคคลหรือครอบครัว แน่นอนว่าราคาที่ต้องจ่ายคือความเศร้าโศกเสียใจและรายจ่ายด้านสุขภาพ ทว่า ในภาพใหญ่ระดับประเทศ การเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเสียชีวิตของประชาชนส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ทั้งต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม หนทางจัดการแก้ไขนั้นมีอยู่ แต่จะแก้ให้ตรงจุดก็ต้องรู้ว่าปัญหาอยู่ตรงไหน ในแวดวงคนทำงานด้านสุขภาวะ มีเครื่องไม้เครื่องมืออยู่ตัวหนึ่ง (ในเครื่องมือหลายๆ ตัว) ที่ใช้เป็นไม้บรรทัดวัดระดับปัญหาสุขภาวะในสังคม มันมีชื่อเรียกว่า DALYs: Disability Adjusted Life Years หรือปีสุขภาวะที่สูญเสีย มันคือดัชนีวัดสถานะสุขภาพของประชากรแบบองค์รวมหรือตัวชี้วัดภาระโรคที่ใช้บอกขนาดปัญหาสุขภาพในภาพรวมของประชากร โดยวัดการสูญเสียสุขภาพหรือช่องว่างสุขภาพ มีหน่วยนับเป็นปีสุขภาวะ โดย 1 หน่วยหรือ 1 DALY เท่ากับการสูญเสียช่วงอายุของการมีสุขภาพที่สมบูรณ์ไปจำนวน 1 ปีที่เกิดจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (YLL: Years of Life Lost) หรืออาจจะไม่ได้เสียชีวิต แต่ต้องอยู่กับความเจ็บป่วยหรือพิการของร่างกาย (YLD: Years Lost due to Disability) เชื่อว่าหลายคนคงยังงุนงงอยู่ว่า สรุปแล้วปีสุขภาวะที่สูญเสียคืออะไรกันแน่ สมมติว่าเมื่อคนไทยคนหนึ่งเกิดมา ถ้าเป็นหญิงจะมีอายุเฉลี่ย 78.6 ปี ถ้าเป็นชายจะมีอายุเฉลี่ย […]

สาเหตุการตาย ข้อมูลที่สำคัญ จากคนทำงานกลุ่มเล็กๆ

เรื่องเล่าเก็บมาฝากจาก การลงพื้นที่สุรินทร์ สาเหตุการตาย ข้อมูลที่สำคัญ จากคนทำงานกลุ่มเล็กๆ   นายภุชงค์ อินทร์ชัย เล่าเรื่อง การลงพื้นที่เพื่อพัฒนาข้อมูลการตายในโรงพยาบาล วันที่ 12 – 14 มิถุนายน 2559 ณ โรงพยาบาลสุรินทร์ ข้อมูลสาเหตุการตายเป็นหัวใจสำคัญในการกำหนดนโยบายและจัดลำดับปัญหาสาธารณสุขเพื่อการควบคุมป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพสาเหตุการตายในโรงพยาบาลตั้งแต่ปี 2541 โดยจัดอบรมบุคลากรที่รับผิดชอบ และมีการติดตามเพื่อพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 12 – 14 มิถุนายน 2559 ทีมงานจากแผนงานการพัฒนาดัชนีภาระทางสุขภาพ (BOD) ได้มีโอกาสเดินทางร่วมกับสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์นำโดย พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ และ คุณชูจิตร นาชีวะ ที่เป็นหัวเรือหลัก ลงพื้นที่ติดตามประเมินเรื่องการพัฒนาคุณภาพสาเหตุการตาย ในโรงพยาบาลสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ทำให้ได้เรียนรู้และร่วมทำงานในการติดตามประเมินคุณภาพสาเหตุการตายที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล เมื่อมีการตายเกิดขึ้นในสถานพยาบาล แพทย์ประจำโรงพยาบาลผู้ดูแลก่อนตายจะเป็นผู้ออกหนังสือรับรองการตาย หรือ เรียกว่า ทร.4/1 เพื่อให้ญาตินำไปแจ้งการตาย ที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น และเชื่อมโยงระบบเข้าฐานข้อมูลทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย แม้จะมีการดำเนินการที่เป็นกระบวนการที่ชัดเจน […]

ภาระของคนไทย ภัยที่ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพเรื่องบุหรี่

ภาระของคนไทย ภัยที่ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพเรื่องบุหรี่ : แม้ว่าในปัจจุบันหลายคนจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า บุหรี่ มีพิษภัยและก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของตนเองและผู้อื่นที่อยู่รอบข้าง แต่ปัญหาและภาระทางสุขภาพที่เกิดจากบุหรี่ในสังคมไทยยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การดำเนินงานของภาครัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายสุขภาพมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับข้อมูลในการสนับสนุนเพื่อผลักดันในการกำหนดกฏหมายหรือนโยบายรณรงค์ต่างๆ เกี่ยวกับบุหรี่ ซึ่งประเทศไทยมีหน่วยงานที่ขับเคลื่อนด้านนโยบายบุหรี่อยู่หลายแห่ง โดยมี สสส. เป็นแกนหลักในการรณรงค์ ที่ประสานการดำเนินงานร่วมกับภาครัฐ กรมควบคุมโรค และภาคเอกชน เช่น มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และ ศูนย์วิจัยเพื่อจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ แผนงานเครือข่ายโรคไม่ติดต่อ ซึ่งแต่ละองค์กรจะมีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันในการร่วมผลักดัน โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือการ ลดการสูบบุหรี่ ส่วนหนึ่งในการสนับสนุนข้อมูลเพื่อให้เห็นภาพความจริงของสังคมไทย โดยแผนงานการพัฒนาดัชนีภาระทางสุขภาพได้นำเสนอข้อมูลจากดัชนีชี้วัดภาระทางสุขภาพจึงเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เล็งเห็นผลลัพท์ที่เป็นปรากฎการณ์ทางสุขภาพของการสูบบุหรี่ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนไทยและเกิดเป็นภาระของประชากรทั้งประเทศ โดยมีการศึกษาประเมินภาระโรคและปัจจัยเสี่ยงของคนไทยในปี พ.ศ. 2552 ทั้ง 14 ปัจจัยเสี่ยงของการสูญเสียปีสุขภาวะ ซึ่งพบว่าบุหรี่เป็นปัจจัยที่ทำให้ชายไทยตายสูงสุดจากกลุ่มโรคมะเร็งเยื่อบุทางเดินอาหารและทางเดินหายใจส่วนบน โรคมะเร็งหลอดลมและปอด โรคมะเร็งอื่นๆ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ความผิดปกติทางระบบหายใจเรื่องรังอื่นๆ และโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นต้น ซึ่งมีความเชื่อมโยงอย่างชัดเจนของผลกระทบของบุหรี่กับกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) นอกจากทำให้เสียชีวิตเป็นอันดับที่ 1 เมื่อมองในค่าภาระที่ประเทศต้องแบกรับความสูญเสียจากบุหรี่ คิดเป็นอันดับที่ 2 ของการสูญเสียปีสุขภาวะ (ปีสุขภาพดี) และการศึกษาล่าสุดคือภาระโรคของคนไทยใน ปี พ.ศ. 2556 ยังพบว่ากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) มีอัตราความสูญเสียเพิ่มมากขึ้น [...]

พัฒนาการ ปัญหา และแนวทางการพัฒนาข้อมูลสาเหตุการตาย

โดย รัตนศิริ ศิรพาณิชย์กุล   “ข้อมูลสาเหตุการตาย” คือข้อมูลที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขไทย หากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจเรื่องมาตรฐานการพัฒนาข้อมูลสาเหตุการตายที่ตรงกัน และสามารถบันทึกข้อมูลได้อย่างถูกต้องตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ประเทศไทยก็จะสามารถนำงบประมาณด้านสาธารณสุขที่มีอยู่อย่างจำกัดไปใช้ในการแก้ปัญหาปัญหาสุขภาพของประชาชนได้อย่างตรงจุดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ย้อนกลับไปเมื่อหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการจดทะเบียนการเกิดและตายครั้งแรกในปี 2452 โดยมีการนำร่องในเขตพระนคร ก่อนที่จะบังคับใช้ทั่วประเทศในปี 2459 จากนั้นจึงเริ่มมีการปรับปรุงข้อมูลสาเหตุการตายและปรับความเชื่อมโยงระหว่างระบบรายงานในทะเบียนราษฎรของกระทรวงมหาดไทยกับระบบรายงานของกระทรวงสาธารณสุขเรื่อยมา โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือการให้ได้มาซึ่งข้อมูลการตายที่ถูกต้องที่สุด   ต่อมาในปี 2541ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อการพัฒนาข้อมูลสาเหตุการตาย เมื่อสำนักนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารสุข (สนย.) ได้ทำการศึกษาสาเหตุการตายของประชากรไทยที่เสียชีวิตใน 1 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2542 ใน 16 จังหวัดของประเทศไทย เพื่อปรับปรุงข้อมูลสาเหตุการตายให้มีความเหมาะสมกับประเทศไทย โดยผลการศึกษาในครั้งนั้นพบว่า ใบมรณบัตรที่ออกโดยสำนักทะเบียนกลางในอำเภอต่างๆ มีความถูกต้องเพียงร้อยละ 29.3 ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนาสุขภาพของประเทศได้ สนย.จึงได้เสนอต่อกระทรวงสาธารณสุขว่า ควรมีการปรับปรุงคุณภาพข้อมูลการตายโดยการจัดทำคู่มือและฝึกอบรมแพทย์ให้เข้าใจการเขียนใบรับรองการตาย โดยเฉพาะในส่วนของการระบุสาเหตุการตายให้เป็นมาตรฐานตามระบบ ICD-10 ส่วนกรณีเสียชีวิตนอกสถานพยาบาลได้เสนอให้ญาตินำใบรับแจ้งการตายที่ได้จากผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน ไปที่โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่ว่าการอำเภอ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลซักประวัติการเจ็บป่วยของผู้เสียชีวิต และค้นเวชระเบียน รวมทั้งให้แพทย์ประจำโรงพยาบาลอำเภอนั้นๆ เป็นผู้วินิจฉัยสาเหตุการตาย ก่อนที่ญาติจะนำใบรับแจ้งการตายไปขอใบมรณบัตรที่อำเภอ แต่ในเวลาต่อมาแพทย์ได้ยื่นเรื่องต่อแพทยสภาเพื่อขอระงับการวินิจฉัยสาเหตุการตายกรณีที่มีการเสียชีวิตนอกสถานพยาบาล เนื่องจากแพทย์ไม่ได้เป็นผู้วินิจฉัยโรคเองตั้งแต่ต้นจึงมีความเสี่ยงต่อการถูกร้องเรียน สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครองจึงได้ชะลอแนวทางการปฏิบัตินี้ออกไปก่อน ต่อมา สนย.จึงได้มีการปรับปรุงการพัฒนาคุณภาพข้อมูลสาเหตุการตายรูปแบบใหม่ [...]

“เทคโนโลยีสำรวจระยะไกล” เครื่องมือสำรวจพื้นที่เพาะปลูกพืชของประเทศ เพื่อช่วยประมาณค่าการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรไทย

ของเสียอันตราย (Hazardous Waste) " ของเสียอันตราย" เป็นวัสดุที่ไม่ได้ใช้แล้วที่มีคุณสมบัติเป็นสารไวไฟ กัดกร่อน เกิดปฏิกิริยายาได้ง่าย มีสารพิษปะปนหรือมีตัวทำละลาย เสื่อมคุณภาพตามรายชื่อที่ระบุไว้ หรือกากตะกอนที่เกิดจากการผลิต หรือเกิดจากระบบบำบัดน้ำเสีย จากกิจกรรมตามรายชื่อที่ระบุ [ประกาศกระทรวงอุตสาหรรมฉบับที่ 25 (พ.ศ.2531)] ของเสียอันตรายจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "กากของเสียอุตสาหกรรม" กากตะกอนจากการละลายเกลือและกากตะกอนจากโรงผลิตโซดาไฟด้วยวิธีใช้เซลปรอท กากวัตถุมีพิษและกากตะกอนจากโรงงานผลิตและบรรจุยาฆ่าแมลง ฝุ่นจากระบบกำจัดตะกั่วในอากาศและกากตะกอนจากโรงงานหลอมตะกั่ว ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ที่เสื่อมหรือไม่ได้คุณภาพ น้ำยาเคมีจากถังชุบโลหะกากที่เหลือจากการชุบโลหะรวมทั้งกากตะกอนจากโรงงานชุบโลหะ ของเสียจากโรงงานผลิตวัตถุระเบิด ปลายขั้วหลอดที่ผลิตไม่ได้คุณภาพที่ปนเปื้อนสารปรอทจากโรงงานผลิตหลอดฟูออเรสเซนต์ ถ่านไฟฉายที่ผลิตไม่ได้คุณภาพฝุ่นจากระบบกำจัดอากาศกากตะกอนจากโรงงานผลิตถ่านไฟฉาย กากสีจากห้องพ่นสีของโรงงานที่ประกอบกิจการเกียวกับรถยนต์และจักรยานยนต์ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการของเสียอันตราย มี 3 กลุ่มใหญ่ คือผู้ก่อกำเนิด (Waste Generator) ผู้ขนส่ง (Waste Transporter) ผู้รับบำบัดกำจัด (Waste Processor) ซึ่งแต่ละกลุ่มมีหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อให้การดำเนินการจัดการของเสียอันตรายเป็นไปอย่างถูกต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขอนามัย ความปลอดภัยของประชาชน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่มา : สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม การกำจัดหรือบำบัดของเสียอันตรายเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ก่อกำเนิดต้องตระหนัก เพราะหากกำจัดหรือบำบัดไม่ถูกวิธี หรือไม่เหมาะสมกับของเสียอันตรายชนิด นั้นๆ จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ ได้ศึกษาและตรวจสอบข้อ ร้องเรียนของประชาชน [...]
  • 1
  • 2