HEALTH ARTICLE

เสียงสะท้อนของคนแม่ตาว: ความกลัวที่แท้

เสียงสะท้อนของคนแม่ตาว : ความกลัวที่แท้ โดย ณัฐวัณย์ เกือบสิบปีที่แล้ว พื้นที่ 12 หมู่บ้านในตำบลพระธาตุผาแดงและตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ถูกระบุว่าเป็นพื้นที่ปนเปื้อนสารแคดเมี่ยม ซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการเจ็บป่วยเรื้อรังอย่างโรคไต มะเร็ง นิ่วในทางเดินปัสสาวะ และกระดูกพรุน แน่นอนว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสุขภาพและคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่ปนเปื้อนแคดเมี่ยมทั้ง 6 หมู่บ้านทำให้หน่วยงานราชการรวมทั้งบริษัทเอกชนที่ดำเนินธุรกิจอยู่ใน พื้นที่ต่างให้ความสำคัญและเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด แม้ค่าชดเชยหรือความช่วยเหลือทั้งหมดอาจไม่ครอบคลุมหรือสร้างความพอใจให้กับ ทุกคนได้ก็ตาม โดยเฉพาะข้อเสนอที่ขอให้ชาวบ้านห้ามปลูกพืชที่เป็นห่วงโซ่อาหารเพราะสารแคดเมี่ยมที่ตกค้างในดินและน้ำอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งคนปลูกและคนกิน ช่วง 2-3 ปีแรกที่มีข่าวการปนเปื้อนแคดเมี่ยมในดินและในลำน้ำสายหลักของหมู่บ้าน ชาวนาหลายคนถึงกับวางคันไถแล้วหันมาปลูกพืชชนิดใหม่อย่าง “อ้อย” ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปส่งเสริม บางคนผันตัวเองไปใช้แรงงานรับจ้างในตัวเมืองแม่สอด เรียกได้ว่ามีการปรับเปลี่ยนอาชีพกันขนานใหญ่ในหลายครอบครัว เพราะหากมีคนรู้ว่าข้าวที่นำไปขายปลูกในพื้นที่ปนเปื้อนแคดเมี่ยมก็ จะขายไม่ได้ จากคนที่เคยทำนาจึงต้องปรับเปลี่ยนมาทำไร่อ้อยหรือพืชอย่างอื่นซึ่งต้อง อาศัยกระบวนการ เครื่องมือ และมีรอบการผลิตที่ต่างไปจากเดิม ทั้งยังมั่นใจไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าผลผลิตที่เก็บเกี่ยวมาจะขายได้ทั้ง หมดหรือไม่ เพราะแม้จะมีโรงงานประกาศรับซื้อผลผลิตแน่นอน แต่กระบวนการส่งเสริมให้ปลูกอ้อยก่อนจะมีการก่อสร้างโรงงานน้ำตาลรองรับก็ทำ ให้อดีตชาวนาที่พลิกผันมาเป็นชาวไร่รู้สึกไม่มั่นคงในอาชีพทำอ้อยกันสัก เท่าไร นอกจากวิถีการผลิตที่ต้องปรับเปลี่ยน ในฐานะที่ยังต้องบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก บางครอบครัวต้องหาซื้อข้าวจากพื้นที่อื่นที่ไม่มีการปนเปื้อนสารแคดเมี่ยมหรือ เลือกซื้อข้าวถุงติดยี่ห้อซึ่งวางจำหน่ายตามร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าและมี ราคาแพงกว่ามารับประทานแทนข้าวในนาตนเอง ไม่เพียงเฉพาะข้าวที่ใช้น้ำจากห้วยแม่ตาวหรือห้วยแม่กุเท่านั้นที่ถูกปฏิเสธ พืชผักสวนครัวที่ปลูกโดยใช้น้ำจากห้วยสองสายนี้ก็ถูกปฏิเสธจากคนซื้อด้วย เช่นกัน เพราะ “พอคนรู้ ก็ขายไม่ได้” ทั้งอาชีพทำนาปลูกข้าวและปลูกผักซึ่งเคยเป็นอาชีพหลักของคนในหมู่บ้านจึง [...]

เสียงสะท้อนจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลคุณภาพชีวิตในเขตพื้นที่ปนเปื้อนแคดเมี่ยม

จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลการศึกษาภาระโรคจากแคดเมี่ยมในพื้นที่ อ.แม่สอด เพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ปนเปื้อนสารแคดเมี่ยมใน 3 ตำบล ในระหว่างวันที่ 17-21 กุมภาพันธ์ 2557 โดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลแม่สอด ในการประสานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ของแต่ละพื้นที่ เพื่อนัดกลุ่มตัวอย่างมาสัมภาษณ์ รพ.สต 4 แห่ง ได้แก่ รพ.สต แม่ตาว รพ.สต แม่กุ รพ.สต แม่กุเหนือ รพ.สต พระธาตุผาแดง อสม. 12 หมู่บ้าน รวมทั้งหมด 34 คน ซึ่งมีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 326 คน จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 408 คน แม้จะพบข้อจำกัดในการลงพื้นที่ ในเรื่องของ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีปัญหาในการสื่อสารให้เข้าใจในข้อคำถาม และมีปัญหาเรื่องการได้ยินบางกลุ่มเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ไม่เข้าใจภาษาไทย ต้องใช้ล่ามในการแปลภาษา รวมถึงวิถีชีวิตบางกลุ่มไปทำงานนอกพื้นที่ ตอนเย็นหรือค่ำจึงจะกลับบ้าน จำเป็นต้องไปสัมภาษณ์ที่บ้าน โดยให้ อสม. พาไป ซึ่งต้องใช้เวลานานและกลับออกจากพื้นที่ที่ไปสัมภาษณ์ค่อนข้างดึก [...]

10 ความจริงกับสุขภาพคนไทย

หลังจากห่างหายไปนาน จึงได้แวะเวียนนำผลการศึกษา มาเล่าย่อๆ สกัดออกมา เป็น 10 เรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพของคนไทย จากการศึกษาภาระโรคและสุขภาพของประชากรไทยในปี พ.ศ. 2552 ดังมีความจริงดังนี้ ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.dreamstime.com/royalty-free-stock-photos-concept-public-health-services-healthy-way-life-image2026488   1. คนไทย กับอายุขัยที่ยืนยาวขึ้น อายุขัยเฉลี่ยนับจากแรกเกิดของคนไทย เพิ่มขึ้นแต่ต้องอยู่อย่างเจ็บป่วย พิการมากขึ้นอายุขัยเฉลี่ยของชายอยู่ที่ 70.5 ปี หญิงอยู่ที่ 77.3 ปี แต่...อายุคาดเฉลี่ยที่มีสุขภาพดี ของชายอยู่ที่ 64.5 ปี และหญิงอยู่ที่ 68.2 ปี ดังนั้น ชาย ต้องแบกรับภาระโรค โดยอยู่อย่างเจ็บป่วยพิการ หรือเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 6 ปี และหญิงอายุยืนกว่าชาย แต่สูญเสียมากกว่าชายถึง 3 ปี 2. คนไทย ตายไปจากสาเหตุอะไรเป็นอันดับสูงสุด การตายจำแนกตามรายโรคของคนไทย ปี 2552 พบว่า ทั้งชายและหญิงเสียชีวิตด้วยสาเหตุโรคหลอดเลือดสมองเป็นอันดับ 1 ในชาย ถึงร้อยละ 10.4 [...]

เหล้าละลายความคิด จิตวิญญาณของคนบนพื้นที่สูง หรือ เครื่องมอมเมา

“ตัวเราจะมีค่า ไม่ได้อยู่ที่คนอื่น แต่อยู่ที่ตัวเราจะให้คุณค่ากับตัวเองอย่างไร” ในพื้นที่เขตภาคเหนือ ชาวไทยเผ่าอาข่า มีประเพณีวัฒนธรรมอันสืบทอดกันมา เกี่ยวกับการใช้ เหล้า (เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ) เป็นวัตถุดิบที่มีความสำคัญและจำเป็นในการประกอบพิธีการต่างๆ อาทิ พิธีบายศรีสู่ขวัญ พิธีขอขมาผู้อาวุโสในชุมชน งานมงคลสมรส พิธีขอขมาบรรพชนที่ล่วงลับไปแล้ว ประเพณีกินข้าวใหม่ ประเพณีโล้ชิงช้า และอื่นๆอีกมากมาย ที่เป็นการประกอบพิธีกรรม ตามประเพณีวัฒนธรรมและความเชื่อที่ปฎิบัติมาแต่ครั้งบรรพบุรุษของชาติพันธุ์ อ่าข่า อีกทั้งยังถือเป็นยารักษาโรค เพราะชาติพันธุ์อ่าข่าใช้เหล้าในการรักษาโรค เช่น ข้อเท้าแพลง ข้อกระดูกได้รับการกระทบกระเทือนเกิดอาการบวม ฟกช้ำใน เป็นต้น โดยท่องคาถาใส่ลงไปในเหล้า แล้วพ่นใส่ตามจุดที่ปวด 3 ครั้ง (หลักการทางไสยศาสตร์ ความเชื่อ และความสามารถพิเศษของหมอสมุนไพรพื้นบ้าน ) ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.iamakha.com/ ความเชื่อและวัฒนธรรมที่ปฎิบัติสืบต่อการมายังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน แต่...สิ่งที่ถือเป็นปรากฎการณ์ใหม่จากการแลกเปลี่ยนพูดคุยกับชาวบ้านใน ชุมชน หมู่ 7 ตำบลแม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย พบว่า ปัจจุบันการดื่มเหล้านั้น มีเหตุผลและความเชื่ออยู่มากมายกว่าขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมที่สืบทอด กันมา หลายคนดื่มเพราะเชื่อว่า ดื่มแล้วทำให้ตัวเองมีพลังมากขึ้น บางคนดื่ม เพราะเชื่อและรู้สึกว่า [...]
  • 1
  • 2