All posts by: Adisak Naowarattanakorn

About Adisak Naowarattanakorn

“ควันบุหรี่มือสอง” คร่าชีวิตคนไทยปีละ 2 หมื่นราย พบปี 60 กระทบงบประมาณภาครัฐกว่า 7 พันล้านบาท

คนไทย 70% สูดควันบุหรี่มือสอง คร่าชีวิตคนไทยปีละกว่า 20,000 ราย สูญเสียปีสุขภาวะมากกว่า 5 แสนปี เผยปี 60 ส่งผลกระทบงบประมาณภาครัฐ 7,017 ล้านบาท ทั้งต้องเสียค่ารักษาพบาล 8,335 บาท/คน แพทย์ย้ำควันบุหรี่ทุกชนิดมีอันตราย ทำลายสุขภาพทุกระบบ

โอกาสในการเชื่อมข้อมูลสุขภาพเพื่อยกระดับคุณภาพข้อมูลสาเหตุการตายของประเทศไทย

เมื่อวันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2567 มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ ในหัวข้อ “เส้นทางสู่ข้อมูลที่มีคุณภาพ : การบูรณาการข้อมูลเพื่อพัฒนาคุณภาพข้อมูลการตายและสาเหตุการตาย”

สารเคมีอันตราย ภัยสุขภาพที่มากับน้ำเหนือ

น่านและอีกหลายจังหวัดในลุ่มน้ำน่าน กำลังเผชิญกับฤดูฝนที่สาหัสกว่าฤดูฝนของปีก่อนๆ เพราะ “แม่น้ำสีแดง” ที่ชาวน่านคุ้นเคยกันในช่วงหลังฤดูฝน ของปีนี้ เต็มไปด้วยมวลน้ำและมวลดินที่มหาศาล ไหลรุนแรง เชี่ยวกรากกว่าปีที่ผ่านๆ มา นอกจากหายนะภัยทางกายภาพที่บ้านเรือน ข้าวของถูกน้ำและโคลนท่วม และซัดทำลายแล้ว ในน้ำและโคลนเหล่านั้นยังมีภัยที่มองไม่เห็นคือสารเคมีที่ตกค้างจากภาคเกษตรปนเปื้อนอยู่อีกด้วย สารเคมีการเกษตรในลุ่มน้ำน่านและความเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยปกติแล้ว หลังฤดูฝนในจังหวัดน่าน มักจะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “แม่น้ำสีแดง” ซึ่งเกิดจากการที่ตะกอนดินที่สะสมในพื้นที่ภูเขาถูกชะล้างลงสู่แม่น้ำหลังจากฝนตกหนัก ตะกอนเหล่านี้มาจากดินที่ถูกกัดเซาะจากการตัดไม้ทำลายป่าและการเกษตรที่ไม่ยั่งยืนในพื้นที่สูง ทำให้เมื่อน้ำท่วมและน้ำไหลลงสู่แม่น้ำ ตะกอนดินเหล่านี้ก็จะทำให้น้ำกลายเป็นสีแดงเข้มอย่างเห็นได้ชัด สิ่งที่น่ากลัวคือตะกอนดินสีแดงเหล่านั้นมีสารเคมีทางการเกษตรปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ ไกลโฟเซต ไนเตรท และฟอสเฟต ซึ่งเกษตรกรจะใช้ฉีดพ่นในพื้นที่การเกษตรในช่วงหน้าแล้ง เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน สารเคมีเหล่านี้จะถูกชะล้างออกจากพื้นที่เพาะปลูกเข้าสู่แหล่งน้ำ ประกอบกับจังหวัดน่านมีภูมิประเทศที่สูงชันและมีการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อทำการเกษตรกรรม ส่งผลให้เมื่อเกิดการไหลของน้ำที่รวดเร็วทำให้หน้าดินถูกชะล้างและสารเคมีแพร่กระจายไปยังพื้นที่กว้างขวางได้ง่าย และก่อให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีในพื้นที่อยู่อาศัยหรือบ้านเรือนได้ เคยมีการศึกษาการความเข้มข้นของสารเคมีทางการเกษตรในลุ่มน้ำน่าน และพบว่าปริมาณสารเคมีที่ปนเปื้อนในน้ำช่วงท้ายน้ำจะสูงกว่าช่วงปลายน้ำ แสดงให้เห็นว่าเมื่อสารเคมีจากการเกษตรหลุดเข้าสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จะสะสมตัวในน้ำมากขึ้นตามการเดินทางของน้ำ และเมื่อศึกษาความเข้มข้นของสารเคมีในฤดูแล้งเปรียบเทียบกับฤดูฝน ซึ่งมีปริมาณน้ำมากกกว่ากลับพบว่าในพื้นที่เดียวกันปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีกลับสูงกว่าหรือเท่ากับความเข้มข้นในหน้าแล้ง ทั้งที่เป็นฤดูที่เกษตรกรใช้สารเคมีน้อยกว่า แสดงให้เห็นว่าในพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำน่าน ซึ่งภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงมีการกัดเซาะการพังทลายของหน้าดินที่มีสารเคมีการเกษตรปนปื้อนอยู่ ทำให้ “แม่น้ำสีแดง” จังหวัดน่านในหน้าฝน เต็มไปด้วยสารเคมีทางการเกษตรเช่นเดียวกัน และสารเคมีเหล่านั้นก็เดินทางมากับ “แม่น้ำสีแดง” เคลื่อนตัวสู่ลุ่มน้ำภาคกลางต่อไป ไนเตรท ฟอสเฟต และไกลโฟเซต ล้วนเป็นสารเคมีอันตรายที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์สูงมาก ทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ […]

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงระบบการจดทะเบียนการเสียชีวิตในประเทศไทย

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงระบบการจดทะเบียนการเสียชีวิตในประเทศไทย เมื่อวันที่ 5-7 สิงหาคม 2567 มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ร่วมกับกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

D4H Monthly Report – May 2024

Civil Registration and Vital Statistics & Data Impact Thailand – Climate- and air quality-related health issues are a key concern in Thailand, accounting for about 31,000 deaths of Thai residents in 2019 according to WHO’S ambient air pollution estimates.