News & Activities

แวะดูประเด็นการศึกษาภาระโรคจากมะเร็งท่อน้ำดีจากพยาธิใบไม้ตับในประชากรไทย พ.ศ.2552 หนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนอีสานและหนือ

การศึกษาภาระโรคจากมะเร็งท่อน้ำดีจากพยาธิใบไม้ตับในประชากรไทย พ.ศ.2552 ปัญหาด้านสุขภาพของคนไทยนับว่ามีความหลากหลายและมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญเพิ่มมากขึ้น และปัจจุบันโรคพยาธิใบไม้ตับนับ เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่ทวีความสำคัญมากขึ้น ข้อมูลจากการสำรวจโรคหนอนพยาธิของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2552 พบอัตราความชุกโรคพยาธิใบไม้ตับในประเทศไทย ถึงร้อยละ 8.7 และแบ่งอัตราาความชุกพยาธิใบไม้ตับตาม ภูมิภาค ออกเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบ ร้อยละ 16.6 ภาคเหนือพบ ร้อยละ 10.0 ภาคกลางพบ ร้อยละ 1.3 ภาคใต้พบร้อยละ 0.1 ซึ่งค่อนข้างเด่นชัดว่าพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด และรองลงมาคือภาคเหนือ สำหรับข้อมูลระดับความรุนแรงของโรคพยาธิใบไม้ตับก็พบภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุดเช่นกัน และอาจจะมีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี เนื่องจากในรายงานมะเร็งในประชากรไทยของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ฉบับที่ 7 จะพบว่าสัดส่วนผู้ป่วยโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อ น้ำดีในเพศชายและ หญิง พ.ศ.2551 พบมากที่สุดในกลุ่มคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเช่นเดียวกัน จึงเป็นไปได้ว่า อาจจะมีความสัมพันธ์ระหว่างพยาธิใบไม้ตับกับโรคมะเร็งท่อน้ำดีซึ่งอาจจะเกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchis viverrini) แบบเรื้อรังหรือมีการติดเชื้อแบบซ้ำซาก หรือมีจำนวนพยาธิสะสมปริมาณมากเป็นเวลานานและการพัฒนาเป็นมะเร็งหลังจากติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับประมาณ 30-40 ปี แผนงานการพัฒนาดัชนีภาระทางสุขภาพเพื่อการพัฒนานโยบาย ดำเนินการศึกษา ภาระโรคจากมะเร็งท่อน้ำดีจากพยาธิใบไม้ตับในประชากรไทย พ.ศ.2552 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบโรคมะเร็งท่อน้ำดีจากพยาธิใบไม้ตับ และประมาณภาระโรคมะเร็งท่อน้ำดีในประชากรไทย พ.ศ.2552 และภาระโรคมะเร็งท่อน้ำดีจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับใน ประชากรไทย พ.ศ.2552 [...]

“เสริมพลัง สานสัมพันธ์ และร่วมกันกำหนดทิศทาง BOD ปี 2558-2561”

ร้อยเรื่องราวการประชุม “BOD Retreat 2015” “เสริมพลัง สานสัมพันธ์ และร่วมกันกำหนดทิศทาง BOD ปี 2558-2561” โดย รัตนศิริ ศิระพาณิชย์กุล เมื่อวันที่ 16 – 17 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา แผนงานการพัฒนาดัชนีภาระทางสุขภาพเพื่อการพัฒนานโยบาย (BOD) ภายใต้สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ได้จัด “การประชุม BOD Retreat 2015” ณ สามพราน ริเวอร์ไซด์ จังหวัดนครปฐม เพื่อ เชื่อมโยงเครือข่ายการทำงาน กำหนดทิศทางอนาคตของแผนงาน วิเคราะห์ยุทธศาสตร์และจัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกัน ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการศึกษาพัฒนาดัชนีภาระทางสุขภาพในรอบการศึกษาใหม่ (พ.ศ. 2558 – 2561) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) การประชุม BOD retreat 2015 มีผู้เข้าร่วมการประชุม 24 ท่าน ประกอบด้วยวิทยากรกระบวนการ บุคลากรจากแผนงานการพัฒนาดัชนีภาระทางสุขภาพเพื่อการพัฒนานโยบาย [...]

“เทคโนโลยีสำรวจระยะไกล” เครื่องมือสำรวจพื้นที่เพาะปลูกพืชของประเทศ เพื่อช่วยประมาณค่าการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรไทย

“เกษตรกรไทย” คือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช... ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยาระบุว่า แต่ละปีเกษตรกรไทยต้องเจ็บป่วยเพราะสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เฉลี่ยปีละ 1,996 ราย โดยช่วงที่เจ็บป่วยมากที่สุดคือช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูการเพาะปลูกที่ต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชจำนวนมาก ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากกว่า 100,000 ตันต่อปี และผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมพบว่า อัตราป่วยด้วยพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีความสัมพันธ์กับข้อมูลยอดขายสารเคมี โดยทุกยอดขายสารเคมีที่เพิ่มขึ้น 100,000 บาท ส่งผลให้เกิดอัตราการป่วยเพิ่มขึ้น 0.11% หรือมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 110 คนในประชากรแสนคน!! เมื่อมีการใช้สารเคมีจำนวนมาก โอกาสที่เกษตรกรไทยจะได้รับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจนเกิดผลกระทบทางด้านสุขภาพก็จะมีเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นหนทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้คือ การกำหนดนโยบายระดับประเทศเพื่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความปลอดภัยในไทย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการสนับสนุนนโยบายนี้ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ จึงได้เดินหน้าศึกษาวิจัย “การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของประเทศไทย” โดยรวบรวมข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยีสำรวจระยะไกล (Remote sensing) ร่วมกับการศึกษาข้อมูลรายงานการใช้สารเคมีในพื้นที่การเพาะปลูก และรายงานวิจัยข้อมูลระยะทางการแพร่กระจายของสารเคมี คุณชยุตม์ พินิจค้า นักวิจัยโครงการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของประเทศไทย เปิดเผยว่า เทคโนโลยีสำรวจระยะไกล (Remote sensing) เช่น ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม มีส่วนช่วยในการเก็บข้อมูลที่จะทำให้ได้ข้อมูลในบริเวณพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแบ่งรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ โดยที่ผ่านมาประเทศไทยได้นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น การทำแผนที่ การสำรวจป่าไม้ การวางผังเมือง รวมทั้งการสำรวจพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ [...]
  • 1
  • 2