ข่าวสารประชาสัมพันธ์

เจาะลึก webmap ข้อมูลสุขภาพ พ.ศ. 2547, 2552 และ 2554

เจาะลึก webmap คืออะไร และมีอะไร : ข้อมูลสุขภาพ พ.ศ. 2547, 2552  และ 2554  จากที่เกริ่นไปในฉบับที่ผ่านมาเรื่องเวปไซด์  Thaibod.net Continue reading

แวะดูประเด็นการศึกษาภาระโรคจากมะเร็งท่อน้ำดีจากพยาธิใบไม้ตับในประชากรไทย พ.ศ.2552 หนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนอีสานและหนือ

การศึกษาภาระโรคจากมะเร็งท่อน้ำดีจากพยาธิใบไม้ตับในประชากรไทย พ.ศ.2552

ปัญหาด้านสุขภาพของคนไทยนับว่ามีความหลากหลายและมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญเพิ่มมากขึ้น และปัจจุบันโรคพยาธิใบไม้ตับนับ เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่ทวีความสำคัญมากขึ้น ข้อมูลจากการสำรวจโรคหนอนพยาธิของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2552 พบอัตราความชุกโรคพยาธิใบไม้ตับในประเทศไทย ถึงร้อยละ 8.7 และแบ่งอัตราาความชุกพยาธิใบไม้ตับตาม ภูมิภาค ออกเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบ ร้อยละ 16.6 ภาคเหนือพบ ร้อยละ 10.0 ภาคกลางพบ ร้อยละ 1.3 ภาคใต้พบร้อยละ 0.1 ซึ่งค่อนข้างเด่นชัดว่าพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด และรองลงมาคือภาคเหนือ สำหรับข้อมูลระดับความรุนแรงของโรคพยาธิใบไม้ตับก็พบภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุดเช่นกัน และอาจจะมีความสัมพันธ์กับการป่วยเป็นโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี เนื่องจากในรายงานมะเร็งในประชากรไทยของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ฉบับที่ 7 จะพบว่าสัดส่วนผู้ป่วยโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อ น้ำดีในเพศชายและ หญิง พ.ศ.2551 พบมากที่สุดในกลุ่มคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเช่นเดียวกัน จึงเป็นไปได้ว่า อาจจะมีความสัมพันธ์ระหว่างพยาธิใบไม้ตับกับโรคมะเร็งท่อน้ำดีซึ่งอาจจะเกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ (Opisthorchis viverrini) แบบเรื้อรังหรือมีการติดเชื้อแบบซ้ำซาก หรือมีจำนวนพยาธิสะสมปริมาณมากเป็นเวลานานและการพัฒนาเป็นมะเร็งหลังจากติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับประมาณ 30-40 ปี

แผนงานการพัฒนาดัชนีภาระทางสุขภาพเพื่อการพัฒนานโยบาย ดำเนินการศึกษา ภาระโรคจากมะเร็งท่อน้ำดีจากพยาธิใบไม้ตับในประชากรไทย พ.ศ.2552 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบโรคมะเร็งท่อน้ำดีจากพยาธิใบไม้ตับ และประมาณภาระโรคมะเร็งท่อน้ำดีในประชากรไทย พ.ศ.2552 และภาระโรคมะเร็งท่อน้ำดีจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับใน ประชากรไทย พ.ศ.2552 โดยดำเนินการทบทวนวรรณกรรม และ วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา ณ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรึกษาหารือเรื่อง การศึกษาภาระโรคมะเร็งท่อน้ำดีจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับใน โดยนางสาวรัตน์สีดา สายทอง นำเสนอความเป็นมาและรูปแบบระเบียบวิธีวิจัยให้กับผู้เชี่ยวชาญ คือ ศ.ดร.บรรจบ ศรีภา และ รศ.นพ.ณรงค์ ขันตีแก้ว จาก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ.หัชชา ศรีปลั่ง จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดร.นพ.สุธีร์ รัตนะมงคลกุล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ดร.ศุลีพร แสงกระจ่าง สถาบันมะเร็งแห่ง ชาติ ดร.ฐิติมา วงศาโรจน์ และคุณอรนาถ วัฒนวงษ์ จากสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ซึ่งได้ให้ข้อเสนอแนะในการปรับระเบียบวิธีการวิจัย ในการศึกษาและพัฒนาต่อไปเพื่อจะสามารถสะท้อนภาระปัญหาของคนไทยกับโรคพยาธิใบไม้ตับในอนาคต

“เสริมพลัง สานสัมพันธ์ และร่วมกันกำหนดทิศทาง BOD ปี 2558-2561”

ร้อยเรื่องราวการประชุม “BOD Retreat 2015”
“เสริมพลัง สานสัมพันธ์ และร่วมกันกำหนดทิศทาง BOD ปี 2558-2561”

โดย รัตนศิริ ศิระพาณิชย์กุล

เมื่อวันที่ 16 – 17 ตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา แผนงานการพัฒนาดัชนีภาระทางสุขภาพเพื่อการพัฒนานโยบาย (BOD) ภายใต้สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ได้จัด “การประชุม BOD Retreat 2015” ณ สามพราน ริเวอร์ไซด์ จังหวัดนครปฐม เพื่อ เชื่อมโยงเครือข่ายการทำงาน กำหนดทิศทางอนาคตของแผนงาน วิเคราะห์ยุทธศาสตร์และจัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกัน ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการศึกษาพัฒนาดัชนีภาระทางสุขภาพในรอบการศึกษาใหม่ (พ.ศ. 2558 – 2561) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

การประชุม BOD retreat 2015 มีผู้เข้าร่วมการประชุม 24 ท่าน ประกอบด้วยวิทยากรกระบวนการ บุคลากรจากแผนงานการพัฒนาดัชนีภาระทางสุขภาพเพื่อการพัฒนานโยบาย (BOD) และภาคีเครือข่าย ได้แก่ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กรมสุขภาพจิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กรมควบคุมโรค กองแผนงาน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ฝ่ายประสานงาน

กิจกรรมวันแรก
รู้จัก เข้าใจ ค้นหาเป้าหมาย ต้นทุน วิสัยทัศน์ และพันธกิจ

กิจกรรมในวันแรกเริ่มต้นด้วยบรรยากาศสบายๆ วิทยากรกระบวนการได้เชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมประชุมนั่งล้อมวงที่พื้นห้องก่อน ที่จะเชื้อเชิญให้หลับตาและฟังเพลงบรรเลงจากเปียโนที่มีท่วงทำนองสบายๆ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมเกิดความรู้สึกผ่อนคลายพร้อมทั้งสร้าง จินตนาการตามเสียงเพลง จากนั้นจึงเริ่มกิจกรรมแนะนำตัวเพื่อทำความรู้จักกันพร้อมทั้งแชร์ความ รู้สึกที่ได้จากการฟังเพลงเพื่อให้ทุกคนเริ่มต้นเปิดใจรับฟังเรื่องราวของ กันและกันอย่างลึกซึ้ง จากนั้นจึงได้เริ่มต้นกิจกรรมสร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะและกระชับความสัมพันธ์ด้วยการให้ทุกคนวาดรูปของตัวเองในวัย 8 ขวบ และแบ่งปันเรื่องราวในช่วงนั้นทีละคน ทำให้วงประชุมเกิดความรู้สึกสนุกสนาน ผ่อนคลาย และเริ่มเรียนรู้ซึ่งกันและกันจนทำให้เกิดความรู้สึกคุ้นเคยมากขึ้น

ในช่วงบ่ายวิทยากรกระบวนการได้เริ่มต้นกิจกรรมคลายง่วงด้วยการให้ผู้เข้า ร่วมประชุมทำกิจกรรมม้วนกระดาษหนังสือพิมพ์ให้เล็กและยาวที่สุด จากนั้นให้นำสก๊อตเทปแปะติดเพื่อให้กระดาษหนังสือพิมพ์คงรูปเป็นแท่งยาว สำหรับเริ่มต้นทำกิจกรรมตั้งแท่งกระดาษบนปลายนิ้ว โดยวิทยากรกระบวนการได้ตั้งโจทย์ความท้าทายให้ทุกคนตั้งแท่งกระดาษที่ปลาย นิ้วและใช้สายตามองเฉพาะที่ปลายนิ้วเท่านั้น จากนั้นจึงปล่อยให้ผู้เข้าร่วมประชุมทดลองสร้างความสมดุลของแท่งกระดาษที่ ปลายนิ้วให้ได้นานที่สุด ก่อนที่จะเปลี่ยนโจทย์ใหม่ให้มองที่ปลายยอด เพื่อให้ทุกคนได้เห็นถึงความแตกต่างของการเปลี่ยนจุดโฟกัสดวงตา หลังจากนั้นจึงได้เชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมประชุมแชร์ความคิดที่ได้จากการทำ กิจกรรมนี้

“การมองที่ปลายนิ้วจะควบคุมยากกว่า แต่ถ้ามองที่เป้าหมายปลายกระดาษจะทำให้ควบคุมได้ง่าย ทรงตัวกระดาษได้นานกว่า”

“ถ้ารู้จุดมุ่งหมายของกิจกรรม จะสามารถเตรียมการม้วนกระดาษให้ได้ดีกว่านี้”

“การทรงตัวกระดาษ จะต้องหาเทคนิคและใช้เทคนิคนั้นเพื่อให้สามารถทรงตัวกระดาษได้นานที่สุด”

วิทยากรกระบวนการได้ต่อยอดกิจกรรมจากแท่งกระดาษด้วยการให้ผู้เข้าร่วมประชุม ใช้กรรไกรตัดแท่งกระดาษนั้นตามความพอใจของตนเอง ก่อนที่จะเฉลยกิจกรรมการทำงานร่วมกันด้วยการให้ทุกคนนำแท่งกระดาษนั้นมา เรียงต่อกันทีละคนเพื่อสร้างรูปหัวใจโดยมีโจทย์สำคัญคือห้ามใช้เสียง ผลที่ออกมาคือ ทุกคนสร้างรูปหัวใจที่ไม่สมบูรณ์เท่าไหร่นัก (วิทยากรให้ความเห็นว่าเหมือนเลขสาม) จากนั้นวิทยากรให้ทุกคนแก้ตัวใหม่ โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนปรึกษากันในระยะเวลา 3 นาที ก่อนที่จะเริ่มเรียงรูปหัวใจใหม่อีกครั้งโดยไม่ใช้เสียง เมื่อได้รูปหัวใจแล้ว วิทยากรได้ถามผู้เข้าร่วมประชุมว่าทุกคนพอใจในผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหรือไม่ ก่อนที่จะให้ทุกคนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำกิจกรรมสร้างหัวใจจาก แท่งกระดาษในครั้งนี้

“ถ้าเราไม่ได้คุย กัน เราก็จะไม่สามารถทำให้บรรลุเป้าหมายได้ แต่พอเราได้คุยกัน วางแผนร่วมกัน ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ดีขึ้น ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ แต่อาจจะไม่สวยงามตามที่เราคาดหวัง”

“ถ้าเราเห็นปลายทางร่วมกัน และเราก็รู้ว่าจุดไหนเป็นจุดที่เราจะต้องเริ่ม เราก็จะสามารถวางให้มันบรรจบกันตามเป้าหมายได้ โดยคนอื่นๆ ก็จะอาศัยวิธีการสังเกตุจังหวะการวางของแต่ละคน เพื่อให้รู้ว่าตัวเองจะวางต่ออย่างไร”

“ถ้าเราไม่ได้คุยกัน แม้ว่าเราจะมีเป้าหมายร่วมกัน มันก็จะไม่สำเร็จตามเป้าหมาย แต่ถ้าเมื่อไหร่เราได้คุยกันและรู้วิธีการการทำงานร่วมกัน มีการทำงานตามลำดับขั้นตอน มันก็จะสามารถประสบความสำเร็จได้ แม้ว่าผลลัพธ์ที่ได้มันจะไม่ได้สวยหรูตามที่เราคิด แต่ก็ถือว่าประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย”

“ถ้าเราได้เห็นในสิ่งที่เขาวาง เราก็จะสามารถต่อยอดเพื่อให้เกิดความสำเร็จได้”

“ความยาวของกระดาษที่แตกต่างกัน เปรียบเสมือนเหมือนศักยภาพของแต่ละคนที่ไม่เท่ากัน แต่ว่าเราสามารถใช้ศักยภาพของแต่ละคนให้เกิดประโยชน์ได้ ถ้าเราปรับตัวเข้าหากันเชื่อมโยงการทำงานและเข้าใจซึ่งกันและกัน”

“เรามีรูปหัวใจเป็นเป้าหมายเหมือนกัน แต่ในรอบแรกเราไม่สามารถเรียงต่อกระดาษให้เป็นรูปหัวใจได้ เพราะเราไม่ได้คุยกัน แต่พอเราได้คุยกัน ได้วางแผนร่วมกัน ได้ทดลองวางใหม่ ก็ทำให้สามารถประกอบรูปหัวใจออกมาได้”

“เราไม่รู้ว่าแต่ละคนมีแท่งกระดาษสั้นหรือยาวแค่ไหน เปรียบเสมือนธรรมชาติของคนที่เก่งกันคนละด้านซึ่งเราจะไม่รู้มาก่อนว่าใคร เก่งด้านไหนถ้าเราไม่ได้คุยกัน”

“ทุกคนมีหัวใจเป็นเป้าหมาย แต่การนำแท่งกระดาษของแต่ละคนมาประกอบเป็นรูปหัวใจ มันกะยากเพราะเราไม่รู้ว่าแต่ละคนมีแท่งกระดาษยาวหรือสั้นแค่ไหน แต่พอเราได้คุย ได้ทดลองทำใหม่ ได้เห็นภาพรวมแล้ว เราก็สามาถทำรูปหัวใจให้สำเร็จได้ ซึ่งในชีวิตจริงเราสามารถเรียนรู้จุดที่ผิดพลาดและทดลองทำใหม่ได้เสมอ”

กิจกรรมต่อรูปหัวใจนับเป็นกิจกรรมที่ทำให้ทุกคนได้เรียนรู้ว่า การไปสู่เป้าหมายมีองค์ประกอบปัจจัยและข้อจำกัดที่หลากหลาย เพราะแต่ละคนมีความคิดและต้นทุนที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับการต่อกระดาษเป็นรูปหัวใจที่แต่ละคนมีความยาวและจังหวะการวาง แท่งกระดาษไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ทุกคนต่างมีเป้าหมายเดียวกัน นั่นก็คือการต่อรูปหัวใจ ดังนั้นทุกคนจึงได้พยายามอย่างถึงที่สุดเพื่อไปสู่เป้าหมายนั้น

ในเวลาต่อมา วิทยากรได้เชื่อมโยงกิจกรรมมาสู่การแลกเปลี่ยนความคิดเรื่องวิสัยทัศน์ของ BOD เพื่อกำหนดทิศทางและเป้าหมายการทำงานของ BOD ใน 3 ปี นับจากนี้ โดยให้ทุกคนร่วมกันค้นหาต้นทุน วิสัยทัศน์และพันธกิจการทำงานของ BOD จนได้ข้อสรุปดังต่อไปนี้

ต้นทุนของ BOD (มุมมองจาก BOD และ เพื่อน BOD)

วิสัยทัศน์ (BOD vision )
“เป็นผู้นำด้านการศึกษาพัฒนาดัชนีภาระสุขภาพในระดับภูมิภาค”

พันธกิจ (Mission)

  • พัฒนาการจัดทำดัชนีภาระสุขภาพที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองความต้องการในระดับประเทศ
  • พัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายในการจัดทำและใช้ประโยชน์จากดัชนีภาระสุขภาพ
  • สื่อสารการศึกษาดัชนีภาระสุขภาพกับผู้กำหนดและขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพ
  • พัฒนาศักยภาพองค์กรให้เป็นแหล่งเรียนรู้และขยายเครือข่ายด้านการจัดทำดัชนีภาระสุขภาพในระดับประเทศและภูมิภาค

วิทยากรกระบวนการได้ปิดท้ายกิจกรรมในวันแรก ด้วยการทำกิจกรรมสุนทรียสนทนา จับคู่เปิดใจ เล่าเรื่องราวประทับใจของกันและกัน ก่อนที่จะให้แต่ละคู่มาเล่าเรื่องราวของเพื่อนให้วงประชุมฟังเพื่อให้แต่ละ คนได้เรียนรู้การรับฟังเพื่อนอย่างลึกซึ้ง ก่อนที่จะแยกย้ายกันไปพักผ่อนเพื่อมาทำกิจกรรมร่วมกันใหม่ในวันรุ่งขึ้น

กิจกรรมวันที่สอง

กระชับความสัมพันธ์ สร้างสรรค์แผนการทำงาน ชี้ทิศทางการก้าวไปข้างหน้า

ในเช้าวันที่ 17 วิทยากรกระบวนการได้เริ่มต้นกิจกรรมด้วยการให้ผู้เข้าร่วมประชุมที่เพิ่ง เข้ามาร่วมกิจกรรมได้แนะนำตัวเองให้เพื่อนๆ ได้รู้จัก จากนั้นจึงนำเข้าสู่การทำกิจกรรมละลายพฤติกรรมและสร้างความตื่นตัวให้กับผู้ เข้าร่วมประชุมด้วยการเล่นเกมส์นับเลขปรบมือ

ต่อมา วิทยากรกระบวนการได้เชื่อมโยงเข้าสู่กิจกรรมเลือกหินที่ชอบและใช่ โดยการนำหินแม่น้ำที่มีสีและรูปร่างแตกต่างกันไปให้ผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละ คนเลือกหินที่คิดว่าชอบ ใช่ และคล้ายกับบุคลิกของตนเองมากที่สุด ก่อนที่จะให้แต่ละคนพิจารณาว่าหินมีส่วนคล้ายกับตนเองอย่างไร และผลัดกันเล่าเรื่องราวนั้นออกมา เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้เรียนรู้บุคลิกของแต่ละคนผ่านการเปรียบเทียบตน เองกับหินที่หยิบมา

ต่อมา วิทยากรกระบวนการได้มีการแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมออกเป็น 2 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มนำหินของตัวเองมาต่อรวมกันในแนวตั้งให้ได้สูงที่สุด ก่อนที่จะให้แต่ละคนสะท้อนความคิดของการทำให้หินต่อกันได้สูงท่าสุดตามที่ ตั้งใจ

“ต้องดูก่อนว่าหินแต่ละก้อนก่อนว่ามีลักษณะอย่างไร จากนั้นจึงออกแบบการจัดเรียงร่วมกันว่าจะต่ออย่างไรให้สูงที่สุด”

“เรามองว่าหินทุกก้อนมีคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นก้อนเล็กก้อนใหญ่หรือก้อนแบน จากนั้นเราก็มาคิดร่วมกันว่าเราจะออกแบบอย่างไรให้สามารถใช้ประโยชน์หินได้ ทุกก้อน ซึ่งแต่ละก้อนก็จะค้ำซึ่งกันและกัน จะขาดก้อนใดก้อนหนึ่งไม่ได้”

“เราต้องใช้ทักษะของแต่ละคนในการต่อหินร่วมกัน”
“เราต้องดูก่อนว่าเรามีหินแบบไหนบ้าง ซึ่งเราก็จะเห็นว่าในจำนวนหินที่มีอยู่นั้นมันมีหินก้อนเล็กก้อนน้อยอยู่ ด้วย ซึ่งถ้าเราเอาหินก้อนเล็กมาต่อกันมันคงหล่น เราเลยใช้ประโยชน์ของหินก้อนเล็กก้อนน้อยโดยการนำมาเป็นฐาน เปรียบเสมือนกับคนตัวเล็กคนตัวน้อยที่มีคุณค่า มีประโยชน์ เป็นฐานที่สำคัญ ถ้าเราขาดเขาไปเราก็จะไม่สามารถต่อหินก้อนใหญ่ให้สูงได้”

“เราต้องวิเคราะห์ให้ดี ถ้าเราไม่พอเพียง ไม่ประมาณตน มันจะล้มและพังทั้งหมด”

“มองเรื่องการช่วยเหลือกัน จริงๆ การต่อหินมันล้มไปหลายครั้ง แต่เราก็เริ่มต้นใหม่ได้ทุกครั้ง”

ต่อมาวิทยากรได้สร้างความท้าทายให้กับผู้เข้าร่วมประชุมด้วยการตั้งโจทย์ ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันต่อหินใหม่ให้สูงกว่าเดิม โดยการเปลี่ยนมุมมองหรือดึงประสบการณ์ความผิดพลาดล้มเหลวที่เกิดจากการต่อ หินในครั้งแรกมาใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการต่อหินครั้งใหม่ ก่อนที่จะให้ผู้เข้าร่วมการประชุมบอกเล่าบทเรียนส่วนตัวที่ได้เรียนรู้จาก การต่อหินในครั้งนี้

“ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น”
“สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ สามารถเป็นไปได้”
“สิ่งที่เราเคยคิดว่าไม่มีประโยชน์ก็อาจมีประโยชน์”
“ต้องมีสมาธิและสติ”

“ต้องร่วมด้วยช่วยกัน ลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ”

“นำทุกอย่างมาใช้ประโยชน์ให้ได้”

“กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง”
“หินทุกก้อนสามารถสลับที่กันได้”

“สิ่งๆ เดิม หากเราเปลี่ยนมุมคิด ผลลัพธ์ก็เปลี่ยน”

“ความหลากหลายคือความสวยงาม”

“อยู่ได้ด้วยความแตกต่าง”

“ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ไข”
“ต้องสังเกตเหลี่ยมมุมของแต่ละก้อนว่ามันจะสัมพันธ์กันอย่างไรได้บ้าง”

“ทุกสิ่งทุกอย่างมีความสำคัญ เราต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ไม่ทิ้งกัน หินทุกก้อนมีหน้าที่”

เมื่อทำกิจกรรมเรียงหินจบแล้ว วิทยากรกระบวนการได้ชี้ชวนให้ผู้เข้าร่วมประชุมคิดแผนปฏิบัติงาน BOD ร่วมกัน ว่า BOD จะมีบทบาทหน้าที่อย่างไร โดยได้แบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อให้แต่ละกลุ่มไปคิดร่วมกันและนำผลมาเสนอในวงประชุม จนได้บทสรุปภาพรวมแผนการปฏัติงาน BOD ดังต่อไปนี้

แผนการปฏิบัติงาน BOD

ยุทธศาสตร์ 1

สร้างองค์ความรู้พัฒนางานวิจัย

ยุทธศาสตร์ 2

พัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่และเครือข่าย

ยุทธศาสตร์ 3

นำผลงานวิจัยสู่การกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศ

ตอบรับพันธกิจที่ 1,2 ตอบรับพันธกิจที่ 2,4 ตอบรับพันธกิจที่ 2,3
บทบาทของ BOD

  • พัฒนาและปรับระเบียบวิธีวิจัยให้เป็นปัจจุบัน avoidable burden (projection)
  • ร่วมพัฒนาให้เกิดคุณภาพข้อมูลกับเครือข่าย เช่น สมสส.
  • พัฒนาดัชนีภาระสุขภาพอื่นๆ นอกจาก DALY เช่น HALE
  • ขยายดัชนีภาระทางสุขภาพจากปัจจัยเสี่ยง
  • แสวงหาความร่วมมือกับพันธมิตรในการสร้าง/พัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ ทั้งในและต่างประเทศ
  • จัดอบรมระยะสั้นในระดับภูมิภาค
  • สนับสนุนนักวิจัยเพื่อนำเสนอผลการศึกษาระดับนานาชาติ
  • จับคู่ระหว่าง content กับเทคนิคการทำงานวิจัย
  • ร่วมพัฒนาหัวข้อวิจัยร่วมกับผู้กำหนดนโยบาย ผู้ขับเคลื่อน เพื่อนำผลงานไปสู่การกำหนดนโยบายสุขภาพ
  • Competenay ของทีม BOD
  • ทิศทาง
  • ต้นทุนของนักวิจัยไม่สอดคล้อง/ตอบสนองกับทิศทางที่หลากหลาย
  • สร้างทีมภายใน BOD
  • สร้างทีมภายนอก (เครือข่าย)
  • ประเมินคุณภาพการจัดอบรม สนย.
  • ใช้โมเดล
  • อาจจะมีปัญหาข้อมูล ต่ำกว่า 4 ปี
  • สร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย (มอ.) โดยส่งนักศึกษามาฝึกงานและทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อนั้น
  • อาจจะทำเองหรือหาเครือข่ายในการดำเนินงาน
  • ทำข้อมูลไว้แล้วแต่ยังไม่ได้เลือกเรื่อง
  • ปัญหาด้านข้อมูล
  • สร้างคณะทำงานเครือข่ายวิชาการที่เกี่ยวข้อง กรมควบคุมโรค , กรมควบคุมมลพิษ
  • พัฒนาวิธีการ สร้างทีมทำงานร่วมกับเครือข่ายในแต่ละประเด็นการศึกษา
  • อบรมพัฒนาศักยภาพและทำโครงการร่วมกันให้เป็นคณะทำงานทำงานร่วมมีกิจกรรมร่วมในระยะยาว
  • สร้างสิ่งจูงใจ เช่น ผลงานวิชาการและ ทุนสนับสนุนการทำวิจัยและศึกษาต่อ
  • แปลงภาษา DALY ให้ง่ายต่อกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
  • ต่อยอดงานวิจัยให้มีมากขึ้นไม่จบแค่ DALY เช่น ทำเป็น cost
  • ต่อยอดงานวิจัยให้มีผล impact ต่อสังคม เช่น ทางเศรษฐศาสตร์ และ สังคม
  • ดึงผู้มีประสบการณ์เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นพันธมิตร
ข้อจำกัด

แยกวิเคราะห์ตามกิจกรรม

ยุทธศาสตร์ /กิจรรม ทำอย่างไรให้สำเร็จ ก้าวข้ามขอบจำกัด
สร้างองค์ความรู้พัฒนางานวิจัย
  • รายงานการศึกษาแนวโน้มการ
    ตายก่อนวัยอันควร พ.ศ. 2533-2557
  • รายงานการประเมินและคาด
    การณ์ภาระโรคและการบาดเจ็บ ระดับประเทศ พ.ศ. 2542-2567
  • รายงานการศึกษาวิจัยเพื่อ
    พัฒนาคุณภาพฐานข้อมูลสาเหตุการตายของประเทศ
  • รายงานการคาดการณ์อายุคาด
    เฉลี่ยที่มีสุขภาวะใน
    อนาคต พ.ศ.2552-2567
  • รายงานการศึกษาภาระโรค
    ที่หลีกเลี่ยงได้ในอนาคต พ.ศ. 2552-2567
  • การศึกษาความแตกต่างของ
    ภาระโรคตามพื้นที่
    (เขตสุขภาพ)/สิทธิประกัน
    สุขภาพ/ฐานะทางเศรษฐกิจ
    และสังคม
  • การศึกษาการเปลี่ยนแปลงภาระโรคที่เปลี่ยนแปลงจากมาตรการเฉพาะโรคที่สำคัญเพื่อประเมิน
    ผลลัพธ์การดำเนินงาน
  • การศึกษาภาระโรคจากสิ่งแวด
    ล้อมและการประกอบอาชีพ
  • บทความงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์
    ในวารสารวิชาการใน
    หรือต่างประเทศ อย่างน้อย 3 เรื่อง
เป็นการดำเนินงานภายใน BOD 90%
ข้อมูลที่นำมาคาดการณ์ค่อนข้างเก่า ต้องใช้ model ในการคาดการณ์ภาระโรค (AJ. Don) ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ (Aj.Don) เพื่อเรียนรู้การนำค่าสถิติมาปรับ
80% เป็นการดำเนินงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือกับหน่วยงาน สนย.สปสช. สสท. สสร. และการประเมินคุณภาพข้อมูลหลังจากการอบรมที่ สนย. จัดอบรม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้กระบวนการพัฒนาคุณภาพฯ -มีชื่อร่วม

-สร้างความตระหนักในหน่วยงานที่รับผิดชอบ

-สนย. เป็นตัวเชื่อม โดยเช็ตคณะทำงาน และ สนับสนุนวิชาการ

อาจจะมีปัญหาเรื่องกำลังคน และองค์ความรู้
เป็นโครงการวิทยานิพนธ์ที่ทำร่วมกับ มอ.
ยังไม่ระบุผู้ดำเนินงาน
มีน้อย ร่วมกับมหาวิทยาลัยในการวิจัยและตีพิมพ์
ยุทธศาสตร์ 2

พัฒนาศักยภาพนักวิจัยรุ่นใหม่และเครือข่าย

ตามกิจกรรมที่กำหนดไว้
ยุทธศาสตร์ 3

นำผลงานวิจัยสู่การกำหนดนโยบายและทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศ

มีกิจกรรมการดำเนินงานที่กำหนดไว้ -ผู้กำหนดนโยบาย

-เครือข่าย

-บุคคลทั่วไป

ในช่วงท้ายของกิจกรรมนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมที่เป็นเพื่อน BOD ได้เติมเต็มข้อเสนอแนะเพื่อช่วยให้ BOD สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • BOD รู้เทคนิคการทำดัชนีภาระโรค แต่อาจจะขาดข้อมูลซึ่งต้องไปขอกับหน่วยงานอื่น เช่น ข้อมูลด้านสุขภาพจิต ทาง BOD ต้องไปเชื่อมงานหรือปรึกษางานกับกรมสุขภาพจิต เพื่อให้ได้งานที่ดียิ่งขึ้น
  • คนทำงานรุ่นพี่จะมีความรู้และเข้าใจทั้งเรื่องเทคนิคและเนื้อหา แต่อาจจะไม่มีเวลามาลงรายละเอียดเรื่องเทคนิค ดังนั้นเราอาจต้องเชิญคนทำงานรุ่นพี่มาเป็นโค้ชให้คนทำงานรุ่นน้อง เพื่อให้รุ่นน้องเกิดการเรียนรู้เรื่องเทคนิคจากรุ่นพี่
  • ควรมีการจัดการประชุมแบบไม่เป็นทางการเป็นระยะๆ เพื่อเติมเต็มความสัมพันธ์ในทีมให้แนบแน่น
  • ทีมหลักของ BOD เป็นคนรุ่นใหม่ อาจจะยังไม่รู้เรื่องข้อมูล ดังนั้นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะมาช่วยเติมเต็มเพื่อเสริมประสิทธิภาพการ ทำงาน ซึ่งเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทยมี 2 ส่วนคือ 1) ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข 2) ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างทีม BOD กับผู้เชี่ยวชาญในกระทรวงสาธารณสุขจะมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นกันดี แต่ความสัมพันธ์กับผู้เชี่ยวชาญในมหาวิทยาลัยยังคงมีช่องว่างที่จะต้องสาน สัมพันธ์เพิ่ม ซึ่งอาจจะต้องมีเวทีติดตามแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันเพื่อลดช่องว่างตรง นี้ เพราะถ้าหากสามารถลดช่องว่างนี้ได้ เครือข่ายผู้เชี่ยวชาญที่จะเข้ามาร่วมทำงานกับ BOD ก็จะมีการขยายวงกว้างมากยิ่งขึ้น
  • การที่จะเชื่อมโยงนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกเข้ามาทำงานร่วมกับ BOD อาจจะยังเป็นเรื่องที่ยาก ที่ผ่านมามีแต่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ที่มีความสนใจ แต่มหาวิทยาลัยอื่นๆ อาจจะยังไม่ค่อยมีความสนใจ เพราะเขาไม่มีเวลา หรือไม่รู้ว่าจะเข้ามาเชื่อมโยงกับ BOD อย่างไร จึงเป็นความท้าทายที่ BOD จะต้องลองวิเคราะห์หาวิธีการเชื่อมโยงกันอีกที
  • ต้องเชื่อมโยงงานภายในองค์กร ไม่ให้เป็นการทำงานที่แยกส่วน ต้องทำให้ทีม BOD เกิดการเรียนรู้งานซึ่งกันและกันเพื่อเสริมงานกันให้ดียิ่งขึ้น
  • เนื่องจาก BOD เป็นหน่วยงานที่ใช้ฐานข้อมูลจากหน่วยงานอื่น ซึ่งแต่ละหน่วยงานอาจจะมีการทำข้อมูลที่มีประสิทธิภาพต่างกัน จึงเป็นความท้าทายของ BOD ที่จะต้องทำให้หน่วยงานนั้นๆ เกิดความท้าทายตัวเองที่จะสร้างฐานข้อมูลที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นบทบาทของ BOD จึงไม่ใช่แค่การประสานข้อมูล แต่ต้องมีการโค้ชให้เครือข่ายเกิดการพัฒนาข้อมูลที่มีคุณภาพด้วย

หลังจากจบการเติมเต็มข้อเสนอแนะการทำงาน วิทยากรกระบวนการได้แจกโจทย์ให้ผู้เข้าร่วมการประชุมหาสิ่งของอะไรก็ได้มา 1 ชิ้นที่สามารถอธิบายคุณค่าของสิ่งของชิ้นนั้นได้ ซึ่งในเวลาต่อมาผู้เข้าร่วมประชุมก็ได้นำสิ่งของต่างๆ มาบอกเล่าถึงคุณค่าของสิ่งของชิ้นนั้น ด้วยบรรยากาศที่สนุกสนาน

จากนั้นวิทยากรกระบวนการได้เพิ่มโจทย์ใหม่ให้กับผู้เข้าร่วมประชุม ด้วยการให้จับคู่กันแล้วอธิบายคุณค่าและความสัมพันธ์ของสิ่งของ 2 ชิ้น ต่อด้วยการจับกลุ่ม 4 คน และการจับกลุ่มเป็น 2 ทีม พร้อมทั้งอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งของ ในนิยามใหม่ๆ เพื่อจุดประกายความคิดและสร้างสรรค์แรงบันดาลใจให้แก่กันและกัน โดยกิจกรรมนี้ได้ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมเรียนรู้ถึงความงดงามทางความคิดที่ มีความแตกต่างหลากหลาย แต่ก็สามารถมารวมกันแล้วทำให้เกิดคุณค่าใหม่ๆ ได้

ใน ช่วงท้ายของการประชุม ผู้เข้าร่วมการประชุมได้เปิดใจถึงการทำงานร่วมกัน พร้อมทั้งให้คำมั่นสัญญาเรื่องการทำงาน/เชื่อมประสานงานในอนาคต เพื่อร่วมกันเดินทางไปสู่เป้าหมายตามภารกิจของ BOD ที่วางไว้

หลังจากที่คนทำงาน BOD และเพื่อน BOD ได้ร่วมกันเสริมพลัง สานสัมพันธ์ และกำหนดทิศทาง BOD ปี 2558-2561 เสร็จเรียบร้อยแล้ว วิทยากรกระบวนการก็ได้ปิดการประชุมครั้งนี้ด้วยกิจกรรม “จับมือ-เปิดใจ” ที่เต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งมิตรภาพ ก่อนที่ทุกคนจะแยกย้ายกันกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ

“งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา” แต่การปิดประชุมในครั้งนี้นับว่าเป็น “จุดเริ่มต้น” ที่ดีของการทำงานเฟสใหม่ในอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่ง BOD มีความพร้อมและมีพลังอย่างเต็มที่ในการสร้างสรรค์องค์ความรู้ดัชนีภาระทางสุขภาพเพื่อผลักดันสู่การขับเคลื่อนนโยบายที่ดีต่อสุขภาพคนไทยในอนาคต…

“เทคโนโลยีสำรวจระยะไกล” เครื่องมือสำรวจพื้นที่เพาะปลูกพืชของประเทศ เพื่อช่วยประมาณค่าการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรไทย

เกษตรกรไทย” คือผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยาระบุว่า แต่ละปีเกษตรกรไทยต้องเจ็บป่วยเพราะสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เฉลี่ยปีละ 1,996 ราย โดยช่วงที่เจ็บป่วยมากที่สุดคือช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูการเพาะปลูกที่ต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชจำนวนมาก

ที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากกว่า 100,000 ตันต่อปี และผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลของสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมพบว่า อัตราป่วยด้วยพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีความสัมพันธ์กับข้อมูลยอดขายสารเคมี โดยทุกยอดขายสารเคมีที่เพิ่มขึ้น 100,000 บาท ส่งผลให้เกิดอัตราการป่วยเพิ่มขึ้น 0.11% หรือมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 110 คนในประชากรแสนคน!!

เมื่อมีการใช้สารเคมีจำนวนมาก โอกาสที่เกษตรกรไทยจะได้รับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจนเกิดผลกระทบทางด้านสุขภาพก็จะมีเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นหนทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหานี้คือ การกำหนดนโยบายระดับประเทศเพื่อการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความปลอดภัยในไทย

เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการสนับสนุนนโยบายนี้ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ จึงได้เดินหน้าศึกษาวิจัย “การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของประเทศไทย” โดยรวบรวมข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยีสำรวจระยะไกล (Remote sensing) ร่วมกับการศึกษาข้อมูลรายงานการใช้สารเคมีในพื้นที่การเพาะปลูก และรายงานวิจัยข้อมูลระยะทางการแพร่กระจายของสารเคมี

คุณชยุตม์ พินิจค้า นักวิจัยโครงการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากการรับสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของประเทศไทย เปิดเผยว่า เทคโนโลยีสำรวจระยะไกล (Remote sensing) เช่น ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม มีส่วนช่วยในการเก็บข้อมูลที่จะทำให้ได้ข้อมูลในบริเวณพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแบ่งรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินได้ โดยที่ผ่านมาประเทศไทยได้นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ประโยชน์หลายด้าน เช่น การทำแผนที่ การสำรวจป่าไม้ การวางผังเมือง รวมทั้งการสำรวจพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ และการประเมินความเปลี่ยนแปลงทางการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจในแง่ปริมาณ ราคา ช่วงเวลา ฯลฯ เป็นต้น แต่การประยุกต์ใช้เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการประเมินการรับสัมผัสสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรไทย ถือว่าเป็นความพยายามครั้งสำคัญที่จะมีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้เพื่อคาดประมาณผลกระทบสุขภาพของประชากรอันเกิดจากการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในภาพรวมของประเทศ

“จุดเด่นของการใช้เทคโนโลยีนี้ในการทำงานวิจัยคือ เราสามารถเก็บข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกแต่ละฤดูกาลได้ โดยใช้งบประมาณที่ไม่สูงมาก เนื่องจากภาพถ่ายดาวเทียมจะช่วยให้เห็นรายละเอียดข้อมูลเชิงพื้นที่ครบถ้วนโดยไม่ต้องลงไปสำรวจพื้นที่จริงในทุกพื้นที่ และประเทศไทยก็มีหน่วยงานที่ทำการแปลข้อมูลและจำแนกข้อมูลเป็นประเภทต่างๆ อยู่แล้ว คือกรมพัฒนาที่ดิน และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA ซึ่งข้อมูลที่ได้จะมีความละเอียดในระดับพื้นที่สูง ดังนั้นเราจึงสามารถนำข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ได้มีการจำแนกพื้นที่ เพาะปลูกมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลการซื้อสารเคมีของเกษตรกร ข้อมูลลักษณะการใช้สารเคมี ที่มีทั้งการพ่นทางอากาศและการพ่นทางภาคพื้นดิน ข้อมูลจำนวนประชากรที่อยู่อาศัยในพื้นที่ และข้อมูลการเจ็บป่วยหรือข้อมูลการตรวจเลือดของประชากรในพื้นที่ เพื่อประมาณค่าการรับสัมผัสสารเคมีของ เกษตรกรได้ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยอยู่ และถ้าหากได้ผลงานวิจัยแล้วเราจะสามารถรับรู้ได้ว่าแต่ละพื้นที่มีการใช้ ปริมาณสารเคมีกำจัดศัตรูมากน้อยเพียงใด และประชากรในพื้นที่ใกล้เคียงมีปริมาณการรับสัมผัสสารเคมีในจำนวนเท่าไหร่ ซึ่งจะเกิดผลดีต่อการนำข้อมูลไปใช้ในการกำหนดนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป”

การนำเทคโนโลยีสำรวจระยะไกลมาเป็นส่วนหนึ่งใน การศึกษาข้อมูล จะช่วยให้เกิดผลลัพธ์งานวิจัยที่เห็นเชิงภาพรวมในระดับประเทศ และผลงานวิจัยที่ได้ก็จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเป็นข้อมูลสนับสนุน นโยบายสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่มีความปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงและหลีกเลี่ยงภาระโรคที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรและประชากรไทยต่อไปในอนาคต

แหล่งข้อมูล :

1. สำนักระบาดวิทยา 2552. สถานการณ์และปัญหาสุขภาพจากการสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช.

2. สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม 2556. การพยากรณ์โรคพิษสารกำจัดศัตรูพืชภาคเกษตรกรรม :การนำข้อมูลการเฝ้าระวังโรค 5 มิติ มาวิเคราะห์. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

ข่าวสาร Social feeds