ภาระของคนไทย ภัยที่ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพเรื่องบุหรี่

ภาระของคนไทย ภัยที่ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพเรื่องบุหรี่

ภาระของคนไทย ภัยที่ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพเรื่องบุหรี่ : แม้ว่าในปัจจุบันหลายคนจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า บุหรี่ มีพิษภัยและก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของตนเองและผู้อื่นที่อยู่รอบข้าง แต่ปัญหาและภาระทางสุขภาพที่เกิดจากบุหรี่ในสังคมไทยยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การดำเนินงานของภาครัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายสุขภาพมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับข้อมูลในการสนับสนุนเพื่อผลักดันในการกำหนดกฏหมายหรือนโยบายรณรงค์ต่างๆ เกี่ยวกับบุหรี่ ซึ่งประเทศไทยมีหน่วยงานที่ขับเคลื่อนด้านนโยบายบุหรี่อยู่หลายแห่ง โดยมี สสส. เป็นแกนหลักในการรณรงค์ ที่ประสานการดำเนินงานร่วมกับภาครัฐ กรมควบคุมโรค และภาคเอกชน เช่น มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และ ศูนย์วิจัยเพื่อจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ แผนงานเครือข่ายโรคไม่ติดต่อ ซึ่งแต่ละองค์กรจะมีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันในการร่วมผลักดัน โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือการ ลดการสูบบุหรี่ ส่วนหนึ่งในการสนับสนุนข้อมูลเพื่อให้เห็นภาพความจริงของสังคมไทย โดยแผนงานการพัฒนาดัชนีภาระทางสุขภาพได้นำเสนอข้อมูลจากดัชนีชี้วัดภาระทางสุขภาพจึงเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้เล็งเห็นผลลัพท์ที่เป็นปรากฎการณ์ทางสุขภาพของการสูบบุหรี่ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนไทยและเกิดเป็นภาระของประชากรทั้งประเทศ โดยมีการศึกษาประเมินภาระโรคและปัจจัยเสี่ยงของคนไทยในปี พ.ศ. 2552 ทั้ง 14 ปัจจัยเสี่ยงของการสูญเสียปีสุขภาวะ ซึ่งพบว่าบุหรี่เป็นปัจจัยที่ทำให้ชายไทยตายสูงสุดจากกลุ่มโรคมะเร็งเยื่อบุทางเดินอาหารและทางเดินหายใจส่วนบน โรคมะเร็งหลอดลมและปอด โรคมะเร็งอื่นๆ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ความผิดปกติทางระบบหายใจเรื่องรังอื่นๆ และโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นต้น ซึ่งมีความเชื่อมโยงอย่างชัดเจนของผลกระทบของบุหรี่กับกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD)   นอกจากทำให้เสียชีวิตเป็นอันดับที่ 1 เมื่อมองในค่าภาระที่ประเday-tobaccoทศต้องแบกรับความสูญเสียจากบุหรี่ คิดเป็นอันดับที่ 2 ของการสูญเสียปีสุขภาวะ (ปีสุขภาพดี) และการศึกษาล่าสุดคือภาระโรคของคนไทยใน ปี พ.ศ. 2556 ยังพบว่ากลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) มีอัตราความสูญเสียเพิ่มมากขึ้น โดยในปี พ.ศ. 2556 คนไทยต้องสูญเสียปีสุขภาพดีไป 10.6 ล้านปี และสูญเสียจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ถึง 8 ล้านปี คิดเป็นร้อยละ 75 กันเลย แม้บุหรี่จะไม่สามารถทั้งหมดของการเกิดโรคในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแต่ก็ไม่อาจจะปฏิเสธได้ว่า มีส่วนในการก่อให้เกิดภาระโรคกับคนไทยทั้งประเทศ

หลายความสูญเสียของครอบครัว ที่ต้องเผชิญถึงผลที่ได้รับจากการสูบบุหรี่ในวันที่สายไปจนไม่อาจจะย้อนกลับมาแก้ไขได้ แต่สิ่งที่ภาครัฐและเอกชนร่วมกันรณรงค์ในวันนี้จะไม่สูญเปล่าถ้าหากทุกคนตระหนักและมองไปในอนาคตข้างหน้า ถึงวันที่มีภาพฝันของสังคมปลอดควันบุหรี่ เพื่อลดภาระโรคที่ไม่ใช่เพียงแค่ผู้สูบบุหรี่แต่เป็นคนในครอบครัวและคนไทยทั้งประเทศไทยต้องแบกรับร่วมกัน

“สายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 หรือ http://www.thailandquitline.or.th/site/