แต่ถึงกระนั้น หลายคนที่ยังไม่ก้าวเข้าสู่วัยชราก็ไม่ได้มีท่าทีสะทกสะท้าน วิตกกังวล หรือหวาดกลัวกับสารปนเปื้อนที่ชื่อแคดเมี่ยมมากเหมือนเมื่อเป็นข่าวในยุคแรกๆ หากมองโรคภัยที่กำลังประสบหรือภาระโรคที่เกิดขึ้นว่าเป็น “ภาวะปกติ” ที่ต้องเผชิญ หลายคนจึงไม่ได้รู้สึกทุกข์ร้อนกับแคดเมี่ยมมากไปกว่าปัญหาปากท้องในชีวิตประจำวัน ดังคำพูดของชาวบ้านคนหนึ่งที่บอกด้วยน้ำเสียงวิตกว่า “กังวลว่าเขาจะไม่ให้ปลูกข้าว เพราะจะไม่มีกิน”

เรื่องปากท้องของชาวบ้านยังเป็นเรื่องหลักที่วิ่งนำหน้าเรื่องอื่นๆ อยู่เสมอ ตราบใดที่รายได้หรือภาวะเศรษฐกิจในครัวเรือนยังไม่สัมผัสกับความมั่นคง และคงไม่มีสิ่งใดที่สำคัญไปกว่า เมื่ออยู่ๆ ผืนนาที่เคยปลูกข้าวและสืบทอดมายาวนานหลายชั่วอายุถูกประกาศให้เป็นพื้นที่ ปนเปื้อนแคดเมี่ยมและ ถูกสั่งห้ามไม่ให้ปลูกอีกต่อไป แม้จะมีค่าชดเชยหรือแนวทางแก้ไขปัญหาก็มิอาจเป็นหลักประกันในระยะยาวให้กับ ชีวิตที่ไร้ทางเลือกนี้ได้ หลายครอบครัวจึงตัดสินใจทยอยกลับมาปลูกข้าวหรือผักไว้บริโภคเองอีกครั้ง แม้รู้ทั้งรู้ว่าเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่นเดียวกับบางคนในหมู่บ้านที่หันมาซื้อข้าวและผักที่ปลูกได้ในพื้นที่ปน เปื้อนเหล่านี้เช่นเดิม

ไม่มีใครบอกได้ชัดว่าผลกระทบจากการที่ชาวบ้านต้องใช้ชีวิตในพื้นที่ปนเปื้อนแคดเมี่ยมจะ ปรากฎผลรุนแรงขึ้นเมื่อใด เช่นเดียวกับที่ชาวบ้านหลายคนก็ไม่ได้สนใจจริงจังว่าจะมีนโยบายใดของหน่วย งานใดเข้ามาบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่บ้าง ชาวบ้านส่วนใหญ่จำไม่ได้หรือแยกไม่ออกด้วยซ้ำว่าความช่วยเหลือที่ผ่านมาเป็น โครงการอะไรของใคร การแก้ปัญหาโดยไม่ละเลยเรื่องปากท้องและชีวิตความเป็นอยู่ควบคู่ไปกับการ พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเป็นระบบภายในหมู่บ้าน โดยให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการเรียนรู้และทำการสื่อสารสร้างความเข้า ใจระหว่างหน่วยงานกับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและ สม่ำเสมอต่างหากที่จะขจัดความกลัวที่แท้ไปจากใจของชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบ ได้จริง

ขอบคุณภาพจาก โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม