เสริมสร้างองค์ความรู้ นักวิจัยรุ่นใหม่เพื่อความเข้าใจในหลักการ และวิธีการศึกษาดัชนีประเมินสุขภาพแบบองค์รวม นำสู่การประยุกต์ใช้ในการประเมินสถานะสุขภาพของประชากรและลดภาระทางสุขภาพของคนไทย ในวันที่ 24 – 26 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา แผนงานพัฒนาดัชนีภาระโรคแห่งประเทศไทย มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ร่วมกับกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ดัชนีประเมินสุขภาพประชากรแบบองค์รวม ปี 2564 (Summary Measures of Population Health 2021: SMPH 2021) ผ่านทางระบบออนไลน์ โดยมี ผู้เข้าร่วมอบรมจาก หลายภาคส่วน นักวิชาการ และ บุคลากรทางสาธารณสุข จาก สำนักงานเขตสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หน่วยงานสาธารณสุขส่วนกลาง และ มหาวิทยาลัย ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟัง กว่า 140 คน ซึ่งในวันแรกของการอบรมนี้ ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา รักษาการ ผอ.สำนักวิชาการและนวัตกรรม กล่าวเปิดการอบรม และ ตามด้วย บรรยายพิเศษ เรื่อง ภาระโรคกับการใช้ประโยชน์ในการวางแผนและนโยบายสุขภาพ โดย ศ.นพ.สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ และการบรรยาย เรื่อง ดัชนีประเมินสุขภาพประชากรแบบองค์รวม โดย ดร. ทพญ.กนิษฐา บุญธรรมเจริญ และ ศ. ดร. ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ การบรรยาย เรื่อง แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความยืนยาวของชีวิต อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (LE) และอายุคาดเฉลี่ยที่ปรับด้วยสุขภาพ (HALE) พร้อมทั้งการฝึกปฏิบัติประมาณค่าอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (LE) และอายุคาดเฉลี่ยที่ปรับด้วยสุขภาพ (HALE) โดยนางสาวขนิษฐา กู้ศรีสกุล ปิดท้ายในการการอภิปรายและซักถามเกี่ยวกับการประมาณค่าอายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (LE) และอายุคาดเฉลี่ยที่ปรับด้วยสุขภาพ (HALE) และในวันที่ 2 เริ่มต้นด้วยการ บรรยาย SDGs- Health related goals โดย นพ.สุรัคเมธ มหาศิริมงคล ในหัวข้อบรรยายที่สองคือ ปีสุขภาวะที่สูญเสียไป (DALY) โดย ดร. ภญ.ฐิติพร สุแก้ว และตามด้วย บรรยาย แหล่งช้อมูลสุขภาพ และการใช้ข้อมูล DATAVIZ โดย นพ. พินิจ ฟ้าอำนวยผล และแนะนำ ตัวชี้วัด SDGs – U5MR ผ่านรูปแบบ Data visualization โดย ดร.ภญ.ฐิติพร สุแก้ว และ นายณัฐวุฒิ อดุลยานุโกศล และ การบรรยายและสาธิต เรื่อง การใช้ P-BOD (คำนวณ YLL ) โดย นพ.ธนะวัฒน์ วงศ์ผั ปิดท้ายของการอบรมวันที่สองด้วย กิจกรรมกลุ่มฝึกปฏิบัติการใช้ข้อมูล Data visualization โดยผู้เข้าร่วมประชุมเข้าร่วมกลุ่มย่อย 11 กลุ่ม และร่วมกันหาแนวทางพัฒนานโยบายในระดับพื้นที่ผ่านข้อมูลจากระบบ Data visualization และกลับเข้ากลุ่มใหญ่เพื่อนำเสนอและอภิปรายประเด็นร่วมกัน
ในวันที่ 3 เป็นการบรรยาย เรื่อง premature mortality from NCDs โดยนางสาวขนิษฐา กู้ศรีสกุล และการบรรยายและสาธิต เรื่อง การใช้ข้อมูล DATAVIZ การใข้ข้อมูล premature mortality from NCDs ระดับจังหวัด โดยนางสาวขนิษฐา กู้ศรีสกุล และ นายรักษพล สนิทยา และสุดท้ายดร.ทพญ.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์สะท้อนผลการเรียนรู้และสรุปการอบรมเชิงปฏิบัติการ พร้อมปิดการอบรมดังกล่าว